fbpx

ต้องรู้! อยากทำโรงงานอาหารให้ได้มาตรฐาน

อุตสาหกรรมอาหาร (Food industry) หมายถึง อุตสาหกรรมที่นำผลิตผลจากภาคเกษตร ได้แก่ผลผลิตจากพืช ปศุสัตว์ ประมง มาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตอาการ โดยอาศัยเทคโนโลยีการแปรรูปอาหารและการถนนอาหาร ตลอดจนเทคโนโลยีเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการแปรรูปอาหาร บรรจุภัณฑ์อาหาร เพื่อผลิต ผลิตภัณฑ์อาหารให้ได้ปริมาณมากๆ แต่ยังมีคุณภาพ ปลอดภัย ไม่มีสิ่งเจือปนหรือมีสารปนเปือน ภายใต้การควบคุมมาตรฐาน GMP ซึ่งเป็นเครื่องการันตีว่าอาหารของโรงงานนั้นมีคุณภาพ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

GMP คืออะไร?

GMP (Good Manufacturing Practice) หรือหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต หมายถึงระบบคุณภาพที่สร้างกระบวนการจัดการสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหารของโรงงานอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการเก็บรักษา การพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการผลิตให้ผู้ผลิตปฏิบัติให้เป็นไปตามกฏหมายได้อย่างถูกต้อง เช่น  สถานที่ตั้งและอาคาร บริเวณหรือสภาพแวดล้อมใกล้เคียงต้องสะอาด ไม่มีน้ำขังแฉะและสกปรก เป็นต้น รวมไปถึงเครื่องจักรอุปกรณ์ในการผลิต รวมถึงสภาพแวดล้อมไปจนถึงพนักงาน ต้องไม่เป็นโรคติดต่อหรือโรคหน้ารังเกียจ เสื้อผ้าที่สวมใส่ สวมหมวกหรือผ้าคลุมผมมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในไลน์การผลิตเป็นต้น

GMP มีกี่ประเภท

มาตรฐาน GMP มี 2 ประเภท
1.  GMP สุขลักษณะทั่วไป หรือ General GMP ซึ่งเป็น หลักเกณฑ์ที่นำไปใช้ปฏิบัติสำหรับอาหารทุกประเภท
2. GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์ หรือ Specific GMP ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่เพิ่มเติมจาก GMP ทั่วไป เพื่อมุ่งเน้นในเรื่องความเสี่ยงและความ ปลอดภัยของแต่ละผลิตภัณฑ์อาหาร

GMP คุมอะไรบ้าง

  1. สถานที่ตั้งและอาคารผลิต
    – จะต้องอยู่ในที่ที่จะทำให้อาหารที่ผลิตเกิดการปนเปื้อนได้ง่าย และอาคารผลิตมีขนาดเหมาะสมมีการออกแบบและการก่อสร้างที่ง่ายกต่อการบำรุงรักษาเพื่อลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากความชื้นหรือฝุ่นละอองจากการผลิต
  2. เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์การผลิต
    – วัสดุที่ไม่ทำปฏิกิริยากับอาหาร ไม่เป็นพิษ ไม่เป็นสนิม มีความแข็งแรง เพื่อไม่ให้มีโอกาสเกิดการปนเปื้อนจากฝุ่นละอองกับสิ่งสกปรกต่าง
  3. การควบคุมกระบวนการผลิต
    – ดำเนินการทุกขั้นตอนจะต้องมีการควบคุมตามหลักสุขาภิบาลที่ดี ทั้งวัตถุดิบ ส่วนผสม ภาชนะ การผลิต การเก็บรักา การขนย้าย และขนส่งผลิตภัณฑ์อาหาร
  4. การทำความสะอาด การฆ่าเชื้อ และการบำรุงรักษา
    – สิ่งอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานทั้งหลายเช่น อ่างล้างมือ ห้องน้ำ ห้องส้วม ระบบขยะมูลฝอย การป้องกันแมลงและสัตว์ต่างๆ
  5. การสุขาภิบาล
    – ทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันอันตรายของสารปนเปื้อนสารอันตรายสู่อาหารโดยทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการผลิตให้อยู่ในสภาพที่สะอาดทั้งก่อนและหลังการผลิต
  6. สุขลักษณะของผู้ปฎิบัติงานและบุคลากร
    – ควรสวมเสื้อผ้าที่สะอาดและเหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากการปฏิบัติงานและตัวบุคลากรซึ่งผู้ปฏิบัติงานในบริเวณผลิตจะต้องมีสุขภาพที่ดี
    GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์
    – เป็นหลักเกณฑ์เพิ่มเติมจาก GMP ทั่วไปที่เน้นความปลอดภัยเฉพาะผลิตภัณฑ์บางอย่าง เช่น น้ำดื่ม นม หรืออาหารต่างๆที่มีน้ำ เป็นส่วนผสม ต้องผ่านกระบอนการ GMP (Specific GMP) เพราะเป็กรรมวิธีค่าเชื้อด้วยความร้อน โดยผ่านการพาสเจอร์ไรส์ เป็นต้น
  7. การบังคับใช้ GMP
    – สำนักงานอาหารและยาของไทยนำเอาหลักเกณฑ์มาตรฐาน GMP บังคับใช้เป็นกฎหมาย โดยกำหนดไว้ในประกาศกระทรวงสาธารสุข  ให้ผู้ประกอบการอาหารและยาได้ทำตามข้อกำหนดบนพื้นฐานข้อบังคับทางกฏหมาย ครอบคลุมเนื้อหาในเรื่องวิธีการผลิต เครื่องมือที่ใช้ในการผลิต การเก็บรักษาเป็นต้น

ระบบระบายอากาศสำคัญอย่างไร

ระบบะรบายอากาศ คือ ถ่ายเทอากาศเสีย และอุณหภูมิความร้อน ที่มีอยู่ภายในอาคารออกไปยังนอกอาคาร เพื่อให้พนักงานที่อยู่ภายในไลน์ผลิตทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่รู้สึกอึดอัด หรือผลกระทบด้านสุขภาพเพราะมลพิษภายในอาคาร รวมถึงป้องกันการเกิดโอเวอร์ฮีท (Overheat) ของเครื่องจักรอีกด้วย และ การเลือกใช้พัดลมในโรงงานอุตสาหกรรมควรเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับพื้นที่ขนาดหน้างาน และพนักงานในไลน์การผลิตเพื่อตอบโจทย์กับหน้างาน

สำหรับการออกแบบระบบระบายอากาศ ควรเริ่มวางแผนตั้งแต่ออกแบโรงงาน เพื่อป้องกันการเสียหายที่อาจเกิดขึ้นอย่างเช่น อากาศร้อนเกินจน รวมถึงประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องทุบกำแพงจุดที่ต้องการติดตั้งพัดลมระบายอากาศ

ทางเราให้บริการออกแบบ ติดตั้ง ระบบระบายอากาศ ระบบอีแวป ภายในโรงงานอาหาร โรงงานอุตสาหกรรมทุกรูปแบบ ด้วยประสบการณ์มากกว่า 15 ปี ลูกค้ามากกว่า 500 เจ้า พร้อมให้บริการ สอบถาม-ปรึกษาได้ที่ @mpsmgroup