เชื่อว่าหลายๆคนต้องเคยเห็นลูกหมุน (หรือ ดอกเห็ด, ฟักทอง) ตามหลังคาของโรงงานอุตสาหกรรมทั่วๆไป หรือตามโกดังอย่างแน่นอน โดยผู้ประกอบการทั้งหลายที่ติดลูกหมุนล้วนแต่คาดหวังว่าเจ้าลูกหมุนเนี่ยจะช่วยระบายความร้อนที่สะสมอยู่ภายในโรงงาน โดยอาศัยลมธรรมชาติด้านนอกทำให้มันหมุน แล้วดูดอากาศที่สะสมอยู่ภายในออกไป แต่เดี๋ยวก่อนค่ะ ก่อนที่จะตัดสินใจติดลูกหมุนเรามารู้จักและเข้าใจการทำงานของมันกันก่อนดีกว่าค่ะ
ลูกหมุนคืออะไร ทำงานยังไง
ลูกหมุน หรือ Wind Ventilator หรือที่ชาวบ้านบางคนอาจจะเรียกว่าดอกเห็ด/ฟักทอง เนื่องจากหน้าตาของมัน ซี่ใบพัดอลูมิเนียมโค้งๆ รอลมธรรมชาติด้านนอกพัดเพื่อที่จะหมุน พอลูกหมุน หมุนจะทำให้เกิดแรงดูด(อันน้อยนิด)ดูดอากาศที่สะสมอยู่ใต้หลังคาออกไป ฟังดูดดีใช้มั้ยคะ หลักการง่ายๆ ลมฟรี ช่วยระบายความร้อนใต้หลังคา แต่ช้าก่อนค่ะ ข้อจำกัดของลูกหมุนก็มีมากมายไม่แพ้กันค่ะ
- ถ้าไม่มีลม ลูกหมุนก็เท่ากับเศษเหล็กบนหลังคา
เนื่องจากลูกหมุนจะทำหน้าที่ของมันก็ต่อเมื่อมีลมธรรมชาติผลักในมันหมุน แต่ถ้าโรงงานเราตั้งอยู่ในชุมชน โดนล้อมรอบไปด้วยตึกสูง หรือช่วงที่ไม่มีลมเลยละ อย่างหน้าร้อนที่อากาศก็ร้อน ลมก็นิ่ง ลูกหมุนที่ไม่มีลมผลักก็ไม่ยอมหมุนเองแน่ๆ
- สารพัดปัญหาที่ตามมา ถ้าลูกหมุน ไม่หมุน
ต่อจากข้อที่ 1 ค่ะ ถ้าเราทำใจได้แล้วว่า โอเค อาจจะมีบางช่วงที่ไม่มีลม ลูกหมุนจะไม่ทำงานนะ อดทนเอาหน่อยละกัน มันก็จะมีเรื่องต่อมาค่ะ เมื่อลูกหมุนไม่ได้ทำงาน ก็จะมีคนมาช่วยใช้งานลูกหมุนเราให้เกิดประโยชน์ค่ะ นั้นก็คือ…..นกค่ะ โรงงานกับนก นี่เป็นศัตรูกันมาอย่างยาวนาน ธรรมชาติของนกในเมือง หรือแถวโรงงาน เชื่อว่าทุกคนต้องเคยพบเจอรังนกตามซอกหลืบต่างๆแน่นอนค่ะ ยิ่งพอเจ้านกมันเห็นว่าลูกหมุนไม่หมุน (หรือหมุนช้าๆ) ก็ช่างพอดิบพอดีกับการทำบ้านรังใหม่ของมันจริงๆ (แนบวิดีโอประกอบ – ขนาดหมุนอยู่มันยังไม่กลัวเลยค่ะ)
3. สรุปว่าติดลูกหมุนหรือน้ำตกกันแน่
อีกหนึ่งสิ่งที่เราต้องทำใจถัดมาก็คือ เมื่อติดตั้งไปนานๆ อีกปัญหาที่จะตามมาก็คือเรื่องน้ำรั่ว ฝนสาด ยิ่งถ้าพายุเข้าแล้วละก็…คราวนี้ลูกหมุนก็หมุนจริงๆค่ะ แต่มีของแถมเข้ามาด้วยแน่ๆ เพราะลูกหมุนที่ผ่านการใช้งานอย่างยาวนานแล้ว วัสดุก็จะเริ่มผุกร่อน หรือมีอะไรไปติดเข้าทำให้เกิดการซึมของน้ำได้ค่ะ หรือจาระบีที่ทารอบๆแห้งก็เป็นสาเหตุได้ รวมถึงอาจจะทำให้เสียงดังอีกด้วย
4. อัตราการดูดไม่เพียงพอ
เราต้องเข้าก่อนว่าลูกหมุนมีความสามารถในการดูดเต็มที่ได้เท่าไหร่ โรงงาน/โกดัง/พื้นที่ที่เราอยากติดตั้ง มีขนาดเท่าไหร่ หรือมีเครื่องจักรที่ก่อให้เกิดความร้อนอะไรบ้าง ร้อนขนาดไหน มีกลิ่น หรือสารระเหยหรือไม่ ต้องการการเปลี่ยนถ่ายอากาศกี่รอบต่อชั่วโมง (Air Change) หากคำนวณกันตามหลักวิศวกรรมศาสตร์แล้ว เราอาจจะต้องติดลูกหมุนร่วมร้อยตัวกันเลยก็เป็นไปได้นะคะ!
5. ดูดเฉพาะอากาศด้านบน คนทำงานด้านล่างจะไม่รู้สึกอะไรเลยอยู่ดี
เนื่องจากเราอาศัยลมธรรมชาติที่ให้กับลูกหมุน ไม่มีกำลังมาพอที่จะดูดอากาศได้ทั้งอาคาร ดังนั้นลูกหมุนจึงดูดเฉพาะอากาศที่ลอยตัวอยู่ด้านบน และหากกำลังไม่พออีก ความร้อนจากด้านบนก็จะยังคงแพร่ลงมาด้านล่างอยู่ดี
ทำไมลูกหมุนถึงนิยมกันได้
เนื่องจากสมัยก่อนมีโรงงานญี่ปุ่นมาตั้ง ทางญี่ปุ่น(หรือประเทศอื่นๆก็ตาม) มักจะมีรูปแบบการตั้งโรงงานจากประเทศแม่ หรือประเทศของตัวเองแล้วทั้งนั้น แต่เนื่องจากประเทศเหล่านั้นไม่ได้มีสภาพอากาศร้อนชื้น เหมือนประเทศไทย ทำให้เข้าใจว่าเพียงแค่การติดบานเกล็ด และลูกหมุนก็เพียงพอสำหรับการระบายอากาศแล้ว ทางผู้ประกอบการไทยเองก็เกิดการเลียนแบบ โดยที่ไม่ได้มีความเข้าใจมากเพียงพอจึงทำให้เกิดความนิยมกันอย่างแพร่หลาย รวมถึงสภาวะโลกร้อนที่ทำให้ปัจจุบันอุณหภูมิที่สะสมภายในอาคารสูงขึ้นไปอีก ลูกหมุนและบานเกล็ดจึงไม่ตอบโจทย์
Disclaimer: นี่คือการคาดเดาของทีมงานที่ทำงานในวงการระบบระบายอากาศมายาวนานกว่า 15 ปี
Final Thought
สรุปเลยว่าลูกหมุนเหมาะเฉพาะอาคารที่ไม่สูงมากนัก (ไม่ควรเกิน 3-5 เมตร) ครอบคลุมพื้นที่ไม่ใหญ่ หากพื้นที่กว้างจำเป็นต้องติดมากขึ้น ไม่มีเครื่องจักรที่ก่อให้เกิดความร้อน ไม่ค่อยมีคนทำงาน มีข้อดีหลักๆคือไม่ต้องใช้ไฟ ใช้ลมธรรมชาติช่วยระบายความร้อนออก ใช้งานได้เฉพาะตอนมีลมพัดเท่านั้น อาจจะตามมาซึ่งปัญหานก และน้ำรั่ว ก่อนติดตั้งลูกหมุน เราควรพิจารณาข้อดี-ข้อเสีย-ข้อจำกัดของสินค้าอย่างรอบครอบก่อน ส่วนการระบายอากาศที่เราแนะนำคือการใช้พัดลมระบายอากาศ โดยเป็นการระบายออกทางผนัง หรือทางหลังคา หากจำเป็น
Credit image: Trinity